วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญญาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัยภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้าน แบ่งออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่

     1.  ด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  ความสามารถในการผสมผสานองคืความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งสามารถพึ่งพาตนเองได้ในสภาวการณ์ต่าง เช่น การทำเกษตรแบบผสมผสาน
การทำนา

     2.  ด้านอุตสาหกรรม  การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปปลปลิตเพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย และประหยัด อันเป็นกระบานการให้ชุมชนท้องถิ่นพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้ เช่นการทำเครื่องเรือนจากไม้ การทอผ้า ทอเสื่อ การทำเครื่องจักสาน
เครื่องเรือนที่ทำจากไม้
การทอเสื่อ
 การทำเครื่องจักสาน
การทอผ้า

     3.  ด้านการแพทย์  ได้แก่ ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชนโดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตันเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ เช่น ยาจากสมุนไพรทีอยู่หลากหลาย อาทิ การใช้ใบกระเพราแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ การนวดแผนโบราณและการประคบที่ใช้สมุนไพรประกอบการนวด การดูแลและรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน
ยาจากกระเพรา
ยาจากสมุนไพรต่างๆ

การนวดประคบสมุนไพร

     4.  ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ได้แก่  ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรัษ์ พัฒนา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยังยื่น เช่น การบวชป่า สืบชะตาแม่น้ำ การทำแนวปะการังเทียม การอนุรักษ์ป่าชายเลน
การทำแนวปะการังเทียม
การอนุรักษ์ป่าชายเลน
 การบวชป่า
การสืบชะตาแม่น้ำ

     5.  ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน  ได้แก่ ความสามารถในการสะสมและบริหารกองทุนและสวัสดิการชุมชน สร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในกลุ่ม เช่น การจัดการกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมถึงความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของชุมชน และการจัดระบบสวัสดิการชุมชน
สหกรณ์ออมทรัพย์

     6.  ด้านศิลปกรรม ได้แก่ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน และนันทนาการ ซึ่งแต่ละภาคจะมีการสร้างสรรค์ศิลปะพื้นบ้านที่แตกต่างกัน เช่น การแข่งตีกลองของภาคเหนือ การร้องอีแซวของภาคกลาง หมอลำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การรำมโนราห์ของภาคใต้
 หมอลำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 การร้องเพลงอีแซวของภาคกลาง
 การรำมโนราห์ของภาคใต้
การแข่งตีกลองภาคเหนือ

     7.  ด้านภาษาและวรรณกรรม ในแต่ละภาคจะภาษาถิ่นแตกต่างกัน เช่น ดอกไม้บานไม่รู้โรย ภาษาถิ่นเหนือเรียกว่า ดอกตะล่อม ภาษาอีสานเรียกว่า ดอกสามปีบ่เหนี่ยว ภาษาถิ่นใต้เรียกว่า ดอกกุนหยี ซึ่งการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรมทำได้หลายวิธี เช่น การจัดทำสารานุกรมภาษถิ่น การปริวรรตหนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ รวมถึงการอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่น เช่น ขุนช้างขุนแผน ไกรทอง  โคลงนิราศ
วรรณกรรม ไกรทอง
วรรณกรรม ขุนช้างขุนแผน

นิราศภูเขาทอง

     8.  ด้านปรัชญา ศาสนา ประเพณี ได้แก่ ความสามารถในการประยุกต์และการปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ปรัชญาความเชื่อ และประเพณีที่มีคุณค่าให้เหมาะสมบริบททางเศรษฐกิจ สังคม เช่น การถ่ายทอดวรรณกรรมคำสอน การบวชป่าเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลาย หรือการทำบุญประทายข้าวของชาวอีสาน ซึ่งหลังจากหมดฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ชาวนาจะแบ่งข้าวเปลือกมาถวายทำบุญแก่วัด ซึ่งถือเป็นมงคลสูงสุด

การทำบุญประทายข้าวของชาวอีสาน
การบวชป่า

     9.  ด้านโภชนาการ เนื่องจากประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ ใยแต่ละท้องถิ่นจึงนำเอาวัตถุดิบที่มีสรรพคุณทางยามาประกอบอาหาร เช่น ภาคเหนือมีแกงฮังเล ไส้อั่ว น้ำพริกอ่อง ขนมจีนน้ำเงี้ยว ภาคกลางมีข้าวคลุกกะปิ ขนมจีนน้ำพริก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีส้มตำปลาร้า เนื้อแดดเดียว ลาบ ซุบหน่อไม้ และภาคใต้มีแกงเหลือง แกงไตปลา
 แกงไตปลา ภาคใต้
 น้ำพริกอ่อง ภาคเหนือ
ส้มตำ ภาคอีสาน
น้ำพริกกะปิปลาทู ภาคกลาง

ศิลปวัฒนธรรมไทย

ศิลปวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรม  หมายถึง  ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามอันเป็นแบบแผนที่ดีของไทย เกิดจากการสั่งสม เลือกสรร ปรับปรุงแก้ไข จนถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมในแต่ละสังคมอาจจะเหมือนหรือต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เชื้อชาต ศาสนา ท้องถิ่นที่อยู่ ซึ่งเราควรที่จะยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  วัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

     1.  วัฒนธรรมทางภาษาและวรรณคดี   หมายถึง  วัฒนธรรมทางภาษาพูดและภาษาเขียนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางองการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ค่านิยม ความเชื่อ และวัฒนธรรมของกลุ่มชนเป็นเวลายาวนาน วัฒนธรรมทางภาษาของไทย คือ อักษรไทย มีวิธีการเขียนจากซ้ายไปขวา แตกต่างจากจีนและญี่ปุ่นซึ่งเริ่มเขียนจากขวามาซ้าย
อักษรไทย

     2.  วัฒนธรรมทางวัตถุ   เป็นเรื่องของความสุขกายเพื่อให้อยู่ดีกินดี มีความสะดวกสบายในการครองชีพวัฒนธรรมประเภทนี้ ได้แก่ สิ่งจำเป็นเบื้องต้นในชีวิต 4 อย่างคือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
ปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค

     3.  วัฒนธรรมทางจิตใจ  เป้นเครื่องยึดเหนี่ยวที่ทำให้ปัญญาและจิตใจของมนุษย์มีความเจริญงอกงาม อันได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม คติธรรม
พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

     4.  วัฒนธรรมทางจารีตหรือขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นการประพฤติของคนในสังคม แบ่งออกเป็น
          -  จารีตประเพณี  หมายถึง  ประเพณีที่บรรพชนได้ถือปฎิบัติกันมาแต่อดีต ถ้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามถทอว่าเป็นความผิด ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักธรรมศึลธรรมและจริยธรรม
          -  ขนบประเพณี  เป็นประเพณีที่ได้วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้แล้ว เป็นการกระทำที่ฝูงชนนับถือ และถือปฎิบัติต่อกันมา
          -  ธรรมเนียมประเพณี  เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญชนที่นิยมปฎิบัติสืบต่อกันมา เช่น กิริยามารยาท การพูด การบริโภค การแต่งตัว การเป็นแขกไปเยี่ยมผู้อื่น การเป็นเจ้าของบ้านในการต้อนรับแขก

     5.  วัฒนธรรมทางสุนทรียะ  หมายถึง  ความเจริญในทางวิชาความรุ้ที่เกี่ยวกับความนิยม ความงดงาม และความไพเราะ เช่น ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฎศิลป์ ซึ่งเชื่อโยงกับศิลปะไทย ดังนี้

ศิลปะ  หมายถึง การแสดงออกและการสร้างสรรค์งานในด้านต่างๆของมนุษย์ที่อิงจากความเชื่อ ความคิด วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น จินตนาการ และอารมณ์ความรู้สึกจนออกมาเป็นศิลปะที่งดงาม ศิลปะแบ่งออกเป้น 2 ประเภท ได้แก่

     1.  ทัศนศิลป์  เป็นงานสร้างสรรค์ศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการดู เช่น สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม งานประณีตศิลป์
 จิตรกรรมไทย
 ประติมากรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทย
     2.  ศิลปะการแสดง  เป็นงานศิลปะที่รับรู้ได้โดยการชมและการฟัง เช่น ดนตรี นาฎศิลป์
 ดนตรีไทย
 โขน นาฎศิลป์ไทย
นาฎศิลป์ไทย

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ขนบธรรมเนียม หมายถึง สิ่งที่สังคมในประเทศไทยนิยมประพฤติปฏิบัติต่อเนื่องสืบกันมาเป็นเวลานาน จนยึดถือกันในจิตใจว่าต้องปฏิบัติเช่นนั้น จึงจะเกิดความสุขความเจริญ

ประเพณีไทย หมายถึง ทำกิจกรรมทางสังคมของประเทศไทยที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมา

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เป็นคำที่ใช้เรียกรวมกัน หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมยึดถือปฎิบัติสืบต่อๆกันมานาน มีคุณค่าทางชีวิต มักแฝงไปด้วยศีลธรรมจรรยา ความคิด ความเชื่อ เช่น การทีมารยาทไทย การปฎิบัติตนอย่างถูกกาลเทศะ รวมถึงการมีประเพณีต่างๆซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติไทย  ขนบธรรมเนียมแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่
     1.  ขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนบุคคลหรือประเพณีครอบครัว   เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโดยเฉพาะ เช่น ประเพณีการเกิด ประเพณีเกี่ยวกับการศึกษา ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีการตาย 
ประเพณีการเกิด
ประเพณีการศึกษา

 ประเพณีการบวช
ประเพณีการแต่งงาน
ประเพณีการตาย

     2.  ขนบธรรมเนียมประเพณีสังคม   เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ทุกคนในชาติต้องกระทำร่วมกัน เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทง ถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ก่อให้เกิดความสะมพันธ์อันดีของคนในชาติ                                                                                                                                          
  ประเพณีวันสงกรานต์
 ประเพณีวันลอยกระทง

     3.  ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับศาสนา   เป็นธรรมเนียมประเพณีที่ปฎิบัติกันในวันสำคัญทางศาสนาโดยศาสนิกชนจะพร้อมใจกันไปร่วมงานที่วัดหรือศาสนสถานของศาสนานั้นๆถ้าเป็นพระพุทธ
ศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเช้าพรรษา วันออกพรรษา              
ประเพณีตักบาตรทำบุญ วันวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา และวันพระ
ประเพณีตักบาตรเทโว วันออกพรรษา
                                                       ประเพณีเวียนเทียน วันเข้าพรรษา

     4.  ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับอาชีพ   เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับอาชีพท้องถิ่น เช่น ประเพณีแห่นางแมว ประเพณีสู่ขวัญข้าว ประเพณีบุญบั้งไฟ    
ประเพณีแห่นางแมว
ประเพณีสู่ขวัญข้าว
ประเพณีบุญบั้งไฟ

     5.  พระราชพิธี   เป็นงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งตามพระราชประเพณี โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปปฎิบัติพระราชกรณียกิจนั้นๆหรือโปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์ไปปฎิบัติแทนพระองค์ เช่น การถวายผ้าพระกฐินหลวง พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีฉัตรมงคล
 การถวายผ้าพระกฐินหลวง
พระราชพิธีวันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีฉัตรมงคล


     6.  รัฐพิธี   เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้กำหนดขึ้นเพื่อจัดเฉลิมฉลองงานระดับชาติ เช่น งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา งานถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์
งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา
งานถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์