ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญญาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัยภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้าน แบ่งออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่1. ด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ความสามารถในการผสมผสานองคืความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งสามารถพึ่งพาตนเองได้ในสภาวการณ์ต่าง เช่น การทำเกษตรแบบผสมผสาน
การทำนา
2. ด้านอุตสาหกรรม การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปปลปลิตเพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย และประหยัด อันเป็นกระบานการให้ชุมชนท้องถิ่นพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้ เช่นการทำเครื่องเรือนจากไม้ การทอผ้า ทอเสื่อ การทำเครื่องจักสาน
เครื่องเรือนที่ทำจากไม้
การทอเสื่อ
การทำเครื่องจักสาน
การทอผ้า
3. ด้านการแพทย์ ได้แก่ ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชนโดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตันเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ เช่น ยาจากสมุนไพรทีอยู่หลากหลาย อาทิ การใช้ใบกระเพราแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ การนวดแผนโบราณและการประคบที่ใช้สมุนไพรประกอบการนวด การดูแลและรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน
ยาจากกระเพรา
ยาจากสมุนไพรต่างๆ
การนวดประคบสมุนไพร
4. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรัษ์ พัฒนา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยังยื่น เช่น การบวชป่า สืบชะตาแม่น้ำ การทำแนวปะการังเทียม การอนุรักษ์ป่าชายเลน
การทำแนวปะการังเทียม
การอนุรักษ์ป่าชายเลน
การบวชป่า
การสืบชะตาแม่น้ำ
5. ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ได้แก่ ความสามารถในการสะสมและบริหารกองทุนและสวัสดิการชุมชน สร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในกลุ่ม เช่น การจัดการกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมถึงความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของชุมชน และการจัดระบบสวัสดิการชุมชน
สหกรณ์ออมทรัพย์
6. ด้านศิลปกรรม ได้แก่ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน และนันทนาการ ซึ่งแต่ละภาคจะมีการสร้างสรรค์ศิลปะพื้นบ้านที่แตกต่างกัน เช่น การแข่งตีกลองของภาคเหนือ การร้องอีแซวของภาคกลาง หมอลำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การรำมโนราห์ของภาคใต้
หมอลำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การร้องเพลงอีแซวของภาคกลาง
การรำมโนราห์ของภาคใต้
การแข่งตีกลองภาคเหนือ
7. ด้านภาษาและวรรณกรรม ในแต่ละภาคจะภาษาถิ่นแตกต่างกัน เช่น ดอกไม้บานไม่รู้โรย ภาษาถิ่นเหนือเรียกว่า ดอกตะล่อม ภาษาอีสานเรียกว่า ดอกสามปีบ่เหนี่ยว ภาษาถิ่นใต้เรียกว่า ดอกกุนหยี ซึ่งการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรมทำได้หลายวิธี เช่น การจัดทำสารานุกรมภาษถิ่น การปริวรรตหนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ รวมถึงการอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่น เช่น ขุนช้างขุนแผน ไกรทอง โคลงนิราศ
วรรณกรรม ไกรทอง
วรรณกรรม ขุนช้างขุนแผน
นิราศภูเขาทอง
8. ด้านปรัชญา ศาสนา ประเพณี ได้แก่ ความสามารถในการประยุกต์และการปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ปรัชญาความเชื่อ และประเพณีที่มีคุณค่าให้เหมาะสมบริบททางเศรษฐกิจ สังคม เช่น การถ่ายทอดวรรณกรรมคำสอน การบวชป่าเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลาย หรือการทำบุญประทายข้าวของชาวอีสาน ซึ่งหลังจากหมดฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ชาวนาจะแบ่งข้าวเปลือกมาถวายทำบุญแก่วัด ซึ่งถือเป็นมงคลสูงสุด
การทำบุญประทายข้าวของชาวอีสาน
การบวชป่า
9. ด้านโภชนาการ เนื่องจากประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ ใยแต่ละท้องถิ่นจึงนำเอาวัตถุดิบที่มีสรรพคุณทางยามาประกอบอาหาร เช่น ภาคเหนือมีแกงฮังเล ไส้อั่ว น้ำพริกอ่อง ขนมจีนน้ำเงี้ยว ภาคกลางมีข้าวคลุกกะปิ ขนมจีนน้ำพริก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีส้มตำปลาร้า เนื้อแดดเดียว ลาบ ซุบหน่อไม้ และภาคใต้มีแกงเหลือง แกงไตปลา
แกงไตปลา ภาคใต้
น้ำพริกอ่อง ภาคเหนือ
ส้มตำ ภาคอีสาน
น้ำพริกกะปิปลาทู ภาคกลาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น