ศิลปวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามอันเป็นแบบแผนที่ดีของไทย เกิดจากการสั่งสม เลือกสรร ปรับปรุงแก้ไข จนถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมในแต่ละสังคมอาจจะเหมือนหรือต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เชื้อชาต ศาสนา ท้องถิ่นที่อยู่ ซึ่งเราควรที่จะยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข วัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. วัฒนธรรมทางภาษาและวรรณคดี หมายถึง วัฒนธรรมทางภาษาพูดและภาษาเขียนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางองการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ค่านิยม ความเชื่อ และวัฒนธรรมของกลุ่มชนเป็นเวลายาวนาน วัฒนธรรมทางภาษาของไทย คือ อักษรไทย มีวิธีการเขียนจากซ้ายไปขวา แตกต่างจากจีนและญี่ปุ่นซึ่งเริ่มเขียนจากขวามาซ้าย
อักษรไทย
2. วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นเรื่องของความสุขกายเพื่อให้อยู่ดีกินดี มีความสะดวกสบายในการครองชีพวัฒนธรรมประเภทนี้ ได้แก่ สิ่งจำเป็นเบื้องต้นในชีวิต 4 อย่างคือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
ปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
3. วัฒนธรรมทางจิตใจ เป้นเครื่องยึดเหนี่ยวที่ทำให้ปัญญาและจิตใจของมนุษย์มีความเจริญงอกงาม อันได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม คติธรรม
พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
4. วัฒนธรรมทางจารีตหรือขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นการประพฤติของคนในสังคม แบ่งออกเป็น
- จารีตประเพณี หมายถึง ประเพณีที่บรรพชนได้ถือปฎิบัติกันมาแต่อดีต ถ้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามถทอว่าเป็นความผิด ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักธรรมศึลธรรมและจริยธรรม
- ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่ได้วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้แล้ว เป็นการกระทำที่ฝูงชนนับถือ และถือปฎิบัติต่อกันมา
- ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญชนที่นิยมปฎิบัติสืบต่อกันมา เช่น กิริยามารยาท การพูด การบริโภค การแต่งตัว การเป็นแขกไปเยี่ยมผู้อื่น การเป็นเจ้าของบ้านในการต้อนรับแขก
5. วัฒนธรรมทางสุนทรียะ หมายถึง ความเจริญในทางวิชาความรุ้ที่เกี่ยวกับความนิยม ความงดงาม และความไพเราะ เช่น ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฎศิลป์ ซึ่งเชื่อโยงกับศิลปะไทย ดังนี้
ศิลปะ หมายถึง การแสดงออกและการสร้างสรรค์งานในด้านต่างๆของมนุษย์ที่อิงจากความเชื่อ ความคิด วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น จินตนาการ และอารมณ์ความรู้สึกจนออกมาเป็นศิลปะที่งดงาม ศิลปะแบ่งออกเป้น 2 ประเภท ได้แก่
1. ทัศนศิลป์ เป็นงานสร้างสรรค์ศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการดู เช่น สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม งานประณีตศิลป์
จิตรกรรมไทย
ประติมากรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทย
2. ศิลปะการแสดง เป็นงานศิลปะที่รับรู้ได้โดยการชมและการฟัง เช่น ดนตรี นาฎศิลป์
ดนตรีไทย
โขน นาฎศิลป์ไทย
นาฎศิลป์ไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น